Sodium tripolyphosphate (STPP)
Sodium tripolyphosphate (STPP) เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้ สามารถผลิตได้จากปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดฟอสฟอริก โดยการผลิตสารประกอบฟอสเฟตนั้นสามารถผลิตได้จากกระดูกสัตว์ หินฟอสเฟต หรือปฏิกิริยาระหว่างไอออนของโลหะกับกรดฟอสฟอริก ซึ่งสารประกอบฟอสเฟตนั้นได้รับการรับรองว่าเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปลอดภัย (GRAS; Generally Recognized as Safe) จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ประโยชน์ของ Sodium tripolyphosphate (STPP)
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของส่วนผสมต่างๆ ในผงซักฟอก ช่วยในการแทรก ซึมเข้าถึงเส้นใยของเสื้อผ้าได้ลึกยิ่งขึ้น ช่วยในการเกิดฟองและทำให้ฟองคงตัว
2. มีคุณสมบัติลดความกระด้างของน้ำช่วยให้การซักล้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสารบัฟเฟอร์ช่วยจับคราบสกปรกและป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก
3. ช่วยทำให้สีของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ให้มีความคงตัว สีสวย มักนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม และขาหมูรมควัน โดยในประเทศไทยตามประการของกระทรวงสาธารณสุข (2548) นั้นได้มีการกำหนดปริมาณของสารประกอบฟอสเฟตสูงสุดอยู่ที่ 3000 มิลลิกรัม/1กิโลกรัม
4. เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์ ป้องกันการเสื่อสภาพของโปรตีนทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ได้นั้นมีรสชาติ และเนื้อสัมผัสที่นุ่ม เด้ง มีความชุ่มฉ่ำมากขึ้น
5. สารประกอบฟอสเฟตมีฤทธิ์ช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นหืนของอาหาร ป้องกันการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้มีกลิ่นที่น่ารับประทาน
6. ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
7. ลดปริมาณของโซเดียมคลอไรด์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป
Sodium tripolyphosphate (STPP) เป็นสารที่ทำให้การระคายเคืองต่อผิวหนังเมื่อมีการสัมผัส เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสารอัลคาไลน์อ่อน ๆ
นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่มีฟอสเฟตเป็นประจำ เช่น อาหารฟาสฟูดส์อาจทำให้ระดับฟอสเฟตในเลือดสูง มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต และผนังหลอดเลือด อาจก่อให้เกิดหลอดเหลือดอุดตันทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคเกิน 1000 มิลลิกรัม/วัน

ภาพที่ 1 โครงสร้างโมเลกุลของ Sodium tripolyphosphate (STPP)
Sodium tripolyphosphate (STPP) เป็นสารบัฟเฟอร์ จึงนิยมนำไปใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือน มีคุณสมบัติช่วยจับคราบสกปรกและป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก นอกจากนี้ยังนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตนม ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งและผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อาหารสัตว์ โลหะ สี เยื่อกระดาษ และเซรามิกส์ แต่ที่ใช้กันมากจะเป็นการผลิตผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิวต่าง ๆประโยชน์ของ Sodium tripolyphosphate (STPP)
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของส่วนผสมต่างๆ ในผงซักฟอก ช่วยในการแทรก ซึมเข้าถึงเส้นใยของเสื้อผ้าได้ลึกยิ่งขึ้น ช่วยในการเกิดฟองและทำให้ฟองคงตัว
2. มีคุณสมบัติลดความกระด้างของน้ำช่วยให้การซักล้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสารบัฟเฟอร์ช่วยจับคราบสกปรกและป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกย้อนกลับมาติดพื้นผิวอีก
3. ช่วยทำให้สีของผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ให้มีความคงตัว สีสวย มักนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม และขาหมูรมควัน โดยในประเทศไทยตามประการของกระทรวงสาธารณสุข (2548) นั้นได้มีการกำหนดปริมาณของสารประกอบฟอสเฟตสูงสุดอยู่ที่ 3000 มิลลิกรัม/1กิโลกรัม
4. เพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อสัตว์ ป้องกันการเสื่อสภาพของโปรตีนทำให้ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ที่ได้นั้นมีรสชาติ และเนื้อสัมผัสที่นุ่ม เด้ง มีความชุ่มฉ่ำมากขึ้น
5. สารประกอบฟอสเฟตมีฤทธิ์ช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นหืนของอาหาร ป้องกันการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ทำให้มีกลิ่นที่น่ารับประทาน
6. ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์
7. ลดปริมาณของโซเดียมคลอไรด์ที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป

ภาพที่ 2 ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่ใช้ Sodium tripolyphosphate (STPP)
ข้อเสีย และข้อควรระวังในการใช้ Sodium tripolyphosphate (STPP)Sodium tripolyphosphate (STPP) เป็นสารที่ทำให้การระคายเคืองต่อผิวหนังเมื่อมีการสัมผัส เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสารอัลคาไลน์อ่อน ๆ
นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่มีฟอสเฟตเป็นประจำ เช่น อาหารฟาสฟูดส์อาจทำให้ระดับฟอสเฟตในเลือดสูง มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต และผนังหลอดเลือด อาจก่อให้เกิดหลอดเหลือดอุดตันทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรบริโภคเกิน 1000 มิลลิกรัม/วัน
MORE KNOWLEDGE

Tapioca starch
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งใช้เป็นส่วนผสมในอาหารโดยตรง หรือนำไปแปรรูปเป็นน้ำเชื่อมเพื่อใช้ในภายหลัง
Read

Riboflavin
Riboflavin (ไรโบฟลาวิน) หรือวิตามินบี 2 พบได้ตามธรรมชาติ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ผักใบเขียว ธัญพืช และถั่วชนิดต่าง ๆ
Read

Potato starch
สตาร์ชจากมันฝรั่งมีคุณสมบัติช่วยอุ้มน้ำได้ดี ช่วยทำให้ส่วนผสมและเครื่องปรุงจับตัวกับเนื้อสัตว์ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และช่วยเพิ่มความข้นเหนียวในอาหารนำไปใช้ทำ ซอส ซุป ไส้ขนมและน้ำเกรวี่
Read

Retinol
เรตินอล (Retinol) คือ วิตามินเอรูปแบบหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid) สามารถละลายได้ดีในไขมัน และมักพบในผลิตภัณฑ์ลดเลือนริ้วรอย ลดรอยดำจากสิว ฟื้นฟูหน้าหมองคล้ำ ช่วยผลัดเซลล์ผิว เพิ่มความกระชับเต่งตึง
Read

Milk protein concentrate (MPC)
ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหารหลากหลายด้าน เนื่องจากมีโปรตีน และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายสูง เช่น นำไปเป็นส่วนผสมในอาหารสำหรับทารก เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อาหารแช่แข็ง โยเกิร์ต ชีสและเบเกอรี
Read

Pea starch
สตาร์ชจากถั่วนิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารที่ต้องการความยืดหยุ่น และเนื้อสัมผัสที่เหนียว นุ่ม
Read

Sucralose
มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว สามารถละลายน้ำได้ มีรสชาติที่คล้ายคลึงกับน้ำตาลทราย จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนน้ำตาลทรายได้
Read

Cranberry
เป็นผลไม้กลุ่มเบอร์รีมีลักษณะเป็นทรงกลม แข็ง เล็ก และมีสีแดง อยู่ในกลุ่มไม้พุ่มแคระไม่ผลัดใบมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิดทั้งวิตามินซี อี เค และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
Read

Egg yolk powder
ไข่แดงชนิดผงที่เป็นไข่แดงล้วน ๆ นำไปผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์ และทำให้เป็นผงโดยวิธีสเปรย์ดราย (Spray dry) ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน และยืดอายุเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น
Read

Stevia
ช่วยเพิ่มความหวานให้อาหาร โดยหญ้าหวานสามารถให้ความหวานได้เท่าเดิมโดยใช้ตาลน้อยลง เหมาะสำหรับใส่ในน้ำอัดลม ชาเขียว ขนม แยม ไอศกรีม
Read