Plant protein
ในปัจจุบันผู้คนเริ่มหันมาดูแลและใส่ใจรูปร่างกันมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกกินผักให้มากขึ้น เลือกรับประทานแต่ผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำ งดอาหารแปรรูป หรือแม้กระทั่งการเลือกรับประทานโปรตีนมากขึ้น เนื่องจากโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อทำให้รูปร่างดี กระชับ และสมส่วนแล้ว โปรตีนยังใช้เวลาในการย่อยสลายนาน ทำให้รู้สึกอยากอาหารน้อยลง ช่วยทำให้แคลอรี่ที่ได้รับในแต่ละวันลดลงส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงได้
โปรตีนที่บริโภคกันในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ โปรตีนจากสัตว์ (Animal-based protein) และโปรตีนที่สกัดได้จากพืช (Plant-based protein)
1. โปรตีนจากสัตว์ (Animal-based protein) คือ โปรตีนที่ได้จากสัตว์ เช่น ไข่ นม เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อปลา หรือแม้กระทั่ง Whey Protein
ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในน้ำนมวัว มักนิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มเวย์โปรตีนชนิดผงสำหรับนักกีฬา และผู้ที่ชื่นชอบออกกำลังกายรับประทานเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
2. โปรตีนที่สกัดได้จากพืช (Plant-based protein) โปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว ข้าวบางชนิด และธัญพืชชนิดต่าง ๆ เป็นโปรตีนทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้แลคโตสที่มีในน้ำนมวัว หรือเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนทางเลือกที่มาจากพืช
เนื่องจากโปรตีนจากพืชมีข้อดีคือไม่มีแลคโตส เป็นโปรตีนที่ปราศจากไขมัน ย่อยง่าย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เช่น โปรตีน แร่ธาตุ วิตามินและกรดแอมิโนจำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด รวมไปถึงไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ แต่อย่างไรก็ตามโปรตีนจากพืชก็ยังคงมีข้อเสียเช่นกัน คือหากรับประทานโปรตีนจากพืชมากเกินไปอาจส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่น มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสีย เป็นต้น หรือโปรตีนจากพืชบางชนิด เช่นโปรตีนจากถั่ว และถั่วเหลือง อาจมีกลิ่นถั่วซึ่งเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ปนมาด้วยทำให้ผู้บริโภคบางคนอาจไม่ชอบได้
โปรตีนจากพืชที่มีโปรตีนสูง
1. โปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy protein) ถั่วเหลืองเป็นถั่วที่นิยมบริโภคกันมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีโปรตีนสูง และมีกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งนำไปทำเป็นเครื่องดื่มโปรตีนสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปเนื่องจากช่วยทำให้ส่วนผสมเกิดอิมัลชั่น ทำให้เนื้อเนียน แต่อย่างไรก็ตามโปรตีนจากถั่วเหลืองอาจมีกลิ่นถั่วซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพืชตระกูลถั่ว ซึ่งอาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนไปใช้โปรตีนจากพืชชนิดอื่นที่กลิ่นน้อยกว่าได้ เช่น โปรตีนจากข้าว โปรตีนจากเมล็ดแฟล็กซ์ หรือโปรตีนจากเมล็ดฟักทอง เป็นต้น

2. โปรตีนจากถั่ว (Pea protein) โปรตีนถั่วจากถั่วลันเตาเป็นแหล่งโปรตีนที่ได้จากพืช มีลักษณะเป็นผงสีเหลืองหรือครีม เหมาะสำหรับคนที่ต้องการโปรตีนที่ไม่ทำให้อ้วน เนื่องจากไม่มีไขมันและคลอเรสเตอรอล และยังย่อยสลายได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับรับประทานโปรตีนจากสัตว์ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ พีโปรตีนประกอบด้วยกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังมีกรดแอมิโน BCAA ซึ่งเป็นกรดแอมิโนที่สำคัญช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อรวมทั้งช่วยกระตุ้นโกรทฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน และสร้างกล้ามเนื้อ

3. โปรตีนจากถั่วชิกพี หรือถั่วลูกไก่ (Chickpea protein) ถั่วชิกพีเป็นพืชตระกูลถั่ว เป็นถั่วที่ให้โปรตีนสูง โดยถั่วชิกพี่ 170 กรัม จะให้โปรตีนประมาณ 15 กรัม นอกจากนี้แล้วโปรตีนจากถั่วชนิดนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย วิตามิน และแร่ธาตุ รวมทั้งธาตุเหล็ก โพแทสเซียม โฟเลต และแมกนีเซียม จึงถือว่าเป็นโปรตีนจากพืชคุณภาพสูง เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนจากพืช

4. โปรตีนจากเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed protein) เป็นอีกโปรตีนทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนจากพืช เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนเป็นองค์ประกอบมากถึง 18% อีกทั้งยังมีกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายเทียบเท่ากับโปรตีนที่สกัดได้จากถั่วเหลือง ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนจากถั่วหรือไม่ชอบกลิ่นของถั่วเช่นกัน

5. โปรตีนจากข้าว (Rice protein) โปรตีนจากข้าวเป็นโปรตีนมังสวิรัติที่แยกได้จากข้าว มักถูกใช้เป็นทางเลือกแทนเวย์โปรตีนซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดจากนม หรือโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง เช่นเดียวกับโปรตีนจากเมล็ดแฟลกซ์โปรตีนจากข้าวเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นโปรตีนที่สกัดจากถั่ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ผสมกับน้ำ นม หรือเติมลงในสมูทตี้ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามโปรตีนจากข้าวนั้นมีกรดแอมิโนไลซีนค่อนข้างน้อย จึงมักนำไปผสมกับโปรตีนจากถั่วซึ่งมีกรดแอมิโนไลซีนสูง
6. โปรตีนจากเมล็ดฟักทอง (Pumpkin seed protein) เมล็ดฟักทองมีปริมาณโปรตีน 18 กรัมต่อ 1 ออนซ์ อีกทั้งยังมีกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมีส่วนในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และยังประกอบด้วย BCAA ที่เป็นกกลุ่มของกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และระบบภูมิคุ้มกัน

โปรตีนที่บริโภคกันในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ โปรตีนจากสัตว์ (Animal-based protein) และโปรตีนที่สกัดได้จากพืช (Plant-based protein)
1. โปรตีนจากสัตว์ (Animal-based protein) คือ โปรตีนที่ได้จากสัตว์ เช่น ไข่ นม เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อปลา หรือแม้กระทั่ง Whey Protein
ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในน้ำนมวัว มักนิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มเวย์โปรตีนชนิดผงสำหรับนักกีฬา และผู้ที่ชื่นชอบออกกำลังกายรับประทานเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
2. โปรตีนที่สกัดได้จากพืช (Plant-based protein) โปรตีนจากพืชตระกูลถั่ว ข้าวบางชนิด และธัญพืชชนิดต่าง ๆ เป็นโปรตีนทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้แลคโตสที่มีในน้ำนมวัว หรือเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนทางเลือกที่มาจากพืช
เนื่องจากโปรตีนจากพืชมีข้อดีคือไม่มีแลคโตส เป็นโปรตีนที่ปราศจากไขมัน ย่อยง่าย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เช่น โปรตีน แร่ธาตุ วิตามินและกรดแอมิโนจำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด รวมไปถึงไฟเบอร์และสารต้านอนุมูลอิสระ แต่อย่างไรก็ตามโปรตีนจากพืชก็ยังคงมีข้อเสียเช่นกัน คือหากรับประทานโปรตีนจากพืชมากเกินไปอาจส่งผลทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่น มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสีย เป็นต้น หรือโปรตีนจากพืชบางชนิด เช่นโปรตีนจากถั่ว และถั่วเหลือง อาจมีกลิ่นถั่วซึ่งเป็นกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ปนมาด้วยทำให้ผู้บริโภคบางคนอาจไม่ชอบได้
โปรตีนจากพืชที่มีโปรตีนสูง
1. โปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy protein) ถั่วเหลืองเป็นถั่วที่นิยมบริโภคกันมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีโปรตีนสูง และมีกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งนำไปทำเป็นเครื่องดื่มโปรตีนสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์แปรรูปเนื่องจากช่วยทำให้ส่วนผสมเกิดอิมัลชั่น ทำให้เนื้อเนียน แต่อย่างไรก็ตามโปรตีนจากถั่วเหลืองอาจมีกลิ่นถั่วซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพืชตระกูลถั่ว ซึ่งอาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนไปใช้โปรตีนจากพืชชนิดอื่นที่กลิ่นน้อยกว่าได้ เช่น โปรตีนจากข้าว โปรตีนจากเมล็ดแฟล็กซ์ หรือโปรตีนจากเมล็ดฟักทอง เป็นต้น

2. โปรตีนจากถั่ว (Pea protein) โปรตีนถั่วจากถั่วลันเตาเป็นแหล่งโปรตีนที่ได้จากพืช มีลักษณะเป็นผงสีเหลืองหรือครีม เหมาะสำหรับคนที่ต้องการโปรตีนที่ไม่ทำให้อ้วน เนื่องจากไม่มีไขมันและคลอเรสเตอรอล และยังย่อยสลายได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับรับประทานโปรตีนจากสัตว์ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ พีโปรตีนประกอบด้วยกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังมีกรดแอมิโน BCAA ซึ่งเป็นกรดแอมิโนที่สำคัญช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อรวมทั้งช่วยกระตุ้นโกรทฮอร์โมนที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน และสร้างกล้ามเนื้อ

3. โปรตีนจากถั่วชิกพี หรือถั่วลูกไก่ (Chickpea protein) ถั่วชิกพีเป็นพืชตระกูลถั่ว เป็นถั่วที่ให้โปรตีนสูง โดยถั่วชิกพี่ 170 กรัม จะให้โปรตีนประมาณ 15 กรัม นอกจากนี้แล้วโปรตีนจากถั่วชนิดนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย วิตามิน และแร่ธาตุ รวมทั้งธาตุเหล็ก โพแทสเซียม โฟเลต และแมกนีเซียม จึงถือว่าเป็นโปรตีนจากพืชคุณภาพสูง เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนจากพืช

4. โปรตีนจากเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed protein) เป็นอีกโปรตีนทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนจากพืช เนื่องจากมีปริมาณโปรตีนเป็นองค์ประกอบมากถึง 18% อีกทั้งยังมีกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายเทียบเท่ากับโปรตีนที่สกัดได้จากถั่วเหลือง ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนจากถั่วหรือไม่ชอบกลิ่นของถั่วเช่นกัน

5. โปรตีนจากข้าว (Rice protein) โปรตีนจากข้าวเป็นโปรตีนมังสวิรัติที่แยกได้จากข้าว มักถูกใช้เป็นทางเลือกแทนเวย์โปรตีนซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดจากนม หรือโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง เช่นเดียวกับโปรตีนจากเมล็ดแฟลกซ์โปรตีนจากข้าวเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นโปรตีนที่สกัดจากถั่ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ผสมกับน้ำ นม หรือเติมลงในสมูทตี้ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามโปรตีนจากข้าวนั้นมีกรดแอมิโนไลซีนค่อนข้างน้อย จึงมักนำไปผสมกับโปรตีนจากถั่วซึ่งมีกรดแอมิโนไลซีนสูง
6. โปรตีนจากเมล็ดฟักทอง (Pumpkin seed protein) เมล็ดฟักทองมีปริมาณโปรตีน 18 กรัมต่อ 1 ออนซ์ อีกทั้งยังมีกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมีส่วนในการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และยังประกอบด้วย BCAA ที่เป็นกกลุ่มของกรดแอมิโนที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และระบบภูมิคุ้มกัน

MORE KNOWLEDGE

Maltodextrin
มอลโตเดกซ์ตริน (Maltodextrin) เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ถูกจัดอยู่ในประเภทของ
พอลิแซคคาไรด์ มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดสีขาว
พอลิแซคคาไรด์ มีลักษณะเป็นผงหรือเกล็ดสีขาว
Read

Partly skimmed milk powder and Skimmed milk powder
นมผงพร่องมันเนย และนมผงขาดมันเนยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายประเภท ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง คุกกี้ ไอศกรีม ใช้เป็นส่วนผสมในซอสและแป้งชุบทอด
Read

Tetrasodium Pyrophosphate (TSPP)
เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมีลักษณะเป็นเม็ด หรือผงละเอียดสีขาวช่วยให้เกิดอิมัลชั่นของผลิตภัณฑ์ ป้องกันการเกิดการกระจายตัวของไขมัน และกักเก็บความชุ่มชื้นของผลิตภัณฑ์
Read

Cranberry
เป็นผลไม้กลุ่มเบอร์รีมีลักษณะเป็นทรงกลม แข็ง เล็ก และมีสีแดง อยู่ในกลุ่มไม้พุ่มแคระไม่ผลัดใบมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิดทั้งวิตามินซี อี เค และสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
Read

Sodium tripolyphosphate (STPP)
เป็นเกลือโซเดียมของกรดไตรฟอสฟอริก มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ละลายน้ำได้
Read

Dextrose anhydrous
เป็นชื่อเรียกของผลึกกลูโคสซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต เนื่องจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตใช้กลูโคสเป็นแหล่งของพลังงาน
Read

Probiotic (Lactobacillus)
จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยดูดซึมอาหาร ป้องกันโรค สังเคราะห์วิตามิน ที่จำเป็นต่อร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
Read

Whole milk powder
มักนิยมนำนมผงไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมนม ขนม โยเกิร์ต รวมถึงอุตสาหกรรมเบเกอรี่ และไอศกรีม เนื่องจากนมผงชนิดเต็มมันเนยเป็นนมผงที่มีไขมันสูง จึงทำให้มีความหอมมันรสชาติดีกว่านมผงชนิดอื่น
Read

Bacillus coagulans
เป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพช่วยป้องกัน และลดอาการเกี่ยวกับโรคในระบบทางเดินอาหาร และลำไส้ เช่น อาการท้องผูก โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะท้องเสียบ่อย ๆ โดยไม่พบสาเหตุ
Read

Lactose
และเป็นน้ำตาลที่พบได้เฉพาะในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สามารถแยกได้จากเวย์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตเนยแข็ง หรือตกตะกอนแยกโปรตีนเคซีนในน้ำนม
Read