Yeast extract
สารสกัดจากยีสต์ (yeast extract) คือสารที่ได้จากการสกัดไซโตพลาสซึม (cytoplasm) ซึ่งเป็นของเหลวภายในเซลล์ยีสต์ (yeast) มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล มีส่วนประกอบหลักคือโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิดที่มีประโยชน์ มีกลิ่นหอมคล้ายเนื้อสัตว์ ใช้เป็นสารปรุงแต่งกลิ่นรอาหาร อาหารเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ หรือใช้เป็นอาหารเสริมสุขภาพสำหรับบุคคลอ่อนแอขาดสารอาหาร ซึ่งเซลล์ยีสต์ที่นิยมนำมาผลิตมักจะเป็นยีสต์ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ และขนมปังเช่น Saccharomyces cerevisiae, Candida utilis และ Kluyveromyces marxianus ซึ่งยีสต์แต่ละชนิดจะให้กลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามการจัดสภาวะ และอาหารเลี้ยงที่ใช้เพาะเลี้ยงก็อาจมีผลต่อกลิ่นและรสชาติของยีสต์ได้
กระบวนการผลิตสารสกัดจากยีสต์
1. การสกัดด้วยเอนไซม์ในตัวยีสต์ เป็นการสกัดโดยใช้เอนไซม์ในเซลล์ยีสต์ เช่น โปรทีเอส กลูแคเนส นิวคลีเอส และฟอสโฟไดเอสเทอเรส เป็นต้น เอนไซม์ดังกล่าวจะทำให้เซลล์ยีสต์แตกและทำให้ของเหลวภายในไหลออกมา
2. การสกัดด้วยกรด มักใช้กรดไฮโดรคลอริก ร่วมกับใช้ความร้อน 100 องศาเซลเซียส ทำให้สารอาหารภายในถูกย่อยและโมเลกุลเล็กลง แต่วิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากความร้อนอาจทำให้สูญเสียวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด
3. การสกัดด้วยสารเคมี วิธีนี้ใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้ผนังเซลล์ยีสต์เสียสภาพ และแตกออก สารเคมที่นิยมใช้มักเป็นตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่นคลอโรฟอร์มและแอทิลแอซิเตต เป็นต้น
4. การสกัดโดยใช้วิธีทางกายภาพ วิธีนี้มักใช้เครื่องโฮโมจีไนเซอร์แรงดันสูงอัดของเหลวผ่านรูแคบ ๆ ร่วมกับการปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง และยังมีการใช้เม็ดแก้วเพื่อช่วยเพิ่มแรงเสียดสี ทำให้เกิดแรงบีบอัดและแรงเฉือนทำให้เซลล์แตกในที่สุด
เมื่อได้ของเหลวจากการสกัดเซลล์ยีสต์แล้ว จึงนำมากรองหรือปั่นเหวี่ยงแยกกากเซลล์ยีสต์ออก จากนั้นนำไปฆ่าเชื้อและไปทำให้เข้มข้นโดยการระเหยน้ำออก หลังจากนั้นอาจนำไปทำให้แห้งโดยใช้เครื่องพ่นฝอย (Spray dryer)
ประโยชน์ของสารสกัดจากยีสต์
1. ช่วยเพิ่มรสชาติอูมามิให้กับอาหาร
2. สามารถใช้เป็นสารเพิ่มกลิ่น-รส ให้รสชาติใกล้เคียงเนื้อสัตว์
3. ใช้ทดแทนผงชูรส และเกลืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ 50%
4. ใช้เป็นแหล่งของไนโตรเจน และวิตามินสำหรับอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อ
กระบวนการผลิตสารสกัดจากยีสต์
1. การสกัดด้วยเอนไซม์ในตัวยีสต์ เป็นการสกัดโดยใช้เอนไซม์ในเซลล์ยีสต์ เช่น โปรทีเอส กลูแคเนส นิวคลีเอส และฟอสโฟไดเอสเทอเรส เป็นต้น เอนไซม์ดังกล่าวจะทำให้เซลล์ยีสต์แตกและทำให้ของเหลวภายในไหลออกมา
2. การสกัดด้วยกรด มักใช้กรดไฮโดรคลอริก ร่วมกับใช้ความร้อน 100 องศาเซลเซียส ทำให้สารอาหารภายในถูกย่อยและโมเลกุลเล็กลง แต่วิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากความร้อนอาจทำให้สูญเสียวิตามินและแร่ธาตุบางชนิด
3. การสกัดด้วยสารเคมี วิธีนี้ใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูง ทำให้ผนังเซลล์ยีสต์เสียสภาพ และแตกออก สารเคมที่นิยมใช้มักเป็นตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่นคลอโรฟอร์มและแอทิลแอซิเตต เป็นต้น
4. การสกัดโดยใช้วิธีทางกายภาพ วิธีนี้มักใช้เครื่องโฮโมจีไนเซอร์แรงดันสูงอัดของเหลวผ่านรูแคบ ๆ ร่วมกับการปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง และยังมีการใช้เม็ดแก้วเพื่อช่วยเพิ่มแรงเสียดสี ทำให้เกิดแรงบีบอัดและแรงเฉือนทำให้เซลล์แตกในที่สุด
เมื่อได้ของเหลวจากการสกัดเซลล์ยีสต์แล้ว จึงนำมากรองหรือปั่นเหวี่ยงแยกกากเซลล์ยีสต์ออก จากนั้นนำไปฆ่าเชื้อและไปทำให้เข้มข้นโดยการระเหยน้ำออก หลังจากนั้นอาจนำไปทำให้แห้งโดยใช้เครื่องพ่นฝอย (Spray dryer)
ประโยชน์ของสารสกัดจากยีสต์
1. ช่วยเพิ่มรสชาติอูมามิให้กับอาหาร
2. สามารถใช้เป็นสารเพิ่มกลิ่น-รส ให้รสชาติใกล้เคียงเนื้อสัตว์
3. ใช้ทดแทนผงชูรส และเกลืออย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ 50%
4. ใช้เป็นแหล่งของไนโตรเจน และวิตามินสำหรับอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อ
MORE KNOWLEDGE

Sodium caseinate
โซเดียมแคซิเนตนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์นม และไอศกรีม ด้วยมีคุณสมบัติที่อุ้มน้ำได้ดี มีผลทำเกิดความข้นหนืด และเกิดอิมัลชัน
Read

Grape Seed Extract
มีคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง และละลายน้ำได้ดี
Read

Cardamom
มีรสชาติเข้มข้นและเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถนำมาช่วยเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้กับอาหารทั้งของคาวและของหวานได้แล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและสารอาหารที่เป็นประจำต่อร่างกาย
Read

Probiotic (Lactobacillus)
จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยดูดซึมอาหาร ป้องกันโรค สังเคราะห์วิตามิน ที่จำเป็นต่อร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
Read

Acerola Extract
ผลอะเซโรลาจะมีลักษณะคล้ายผลเชอร์รี่ มีรสเปรี้ยว หวานเล็กน้อย และมีรสฝาด โดยอะเซโรลาเชอร์รี่ขึ้นชื่อว่าเป็น ราชินีแห่งวิตามินซี
Read

Partly skimmed milk powder and Skimmed milk powder
นมผงพร่องมันเนย และนมผงขาดมันเนยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายประเภท ทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง คุกกี้ ไอศกรีม ใช้เป็นส่วนผสมในซอสและแป้งชุบทอด
Read

Clove
ใช้เพื่อให้กลิ่นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ซอส ไส้กรอก ซุป เครื่องแกง รวมถึงยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารวานิลลิน ซึ่งเป็นสารให้กลิ่นวานิลลาใช้เป็นส่วนผสมในการทำเบเกอรี่
Read

Potato starch
สตาร์ชจากมันฝรั่งมีคุณสมบัติช่วยอุ้มน้ำได้ดี ช่วยทำให้ส่วนผสมและเครื่องปรุงจับตัวกับเนื้อสัตว์ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน และช่วยเพิ่มความข้นเหนียวในอาหารนำไปใช้ทำ ซอส ซุป ไส้ขนมและน้ำเกรวี่
Read

Acesulfame K
อะซีซัลเฟมเค (Acesulfame-K) เป็นชื่อทางเคมีของสารให้ความหวานที่ใช้ทดแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผลึกละเอียดสีขาว
Read

Fennel
เมล็ดเทียนข้าวเปลือกพันธุ์หวานมีน้ำมันหอมระเหยที่ให้กลิ่นหอมจึงนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อดับกลิ่นขาว สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ปลา อาหารทะเล ซอส ซุป และอุตสาหกรรมแต่งกลิ่นน้ำปลา
Read